ปีชง

6682159545_4dd371c089_z

ความเชื่อโชคลาง เป็นความเชื่อพื้นฐานในสังคมตั้งแต่สมัยที่ศาสนาและวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติ และแม้ในโลกปัจจุบันที่การเรียนการสอนฟิสิกแพร่หลายในการศึกษาภาคบังคับ ความเชื่อในสิ่งลี้ลับก็ยังไม่ได้หายไป เรายังหวังและเชื่อมั่นในพระเจ้า โชคชะตา และพรหมลิขิต กระทั่งญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นประเทศไฮเทคมากๆที่หนึ่งในโลก การสอดแทรกความเชื่อเหล่านี้ก็ยังมีทุกมุมเสาไฟฟ้า แทบจะทุกวัดมีออฟฟิซเครื่องรางของขลังและห้องสะเดาะเคราะห์ ตู้เซียมซีเป็นของที่แทบจะเรียกว่าอยู่คู่ตู้กดน้ำดื่มเลยทีเดียว นอกจากเครื่องรางของขลังทั่วไปแล้ว ทุกๆวัดยังมีป้ายเชิญชวนสะเดาะเคราะห์ปีชง หรือ  Yokuyake 厄除けพร้อมตารางปีชง (厄年) Yokudoshi แปะไว้เด่นเป็นสง่า

img_0071 角大師(つのだいし)様の厄除けお札

角大師(つのだいし)様の厄除けお札 ประมาณไฉ่วิงเอี๊ยเทพคุ้มครองดวง

ซึ่งก็อีกละ สาวใหญ่วัยสามสิบหกเช่นป้า ชงพอดี (อันนี้รู้อยู่แล้ว) สำหรับคนญี่ปุ่นสะเดาะเคราะห์ที่วัดนี่ต้องทำทั้งปีก่อนชงหลังชง ค่าสะเดาะเคราะห์ตกไม่ต่ำกว่า 5000 เยนต่อครั้ง อจ๊าก จนเลย

 ofuda2 4b36e39eb57a4f78c093e9302f3dd86b

Ofuda 御札 ประมาณยันต์กันซวย จะมีชื่อของท่านผู้ทำอยู่ตรงด้านซ้าย พกกลับไปตั้งที่บ้าน

Omamori 厄除御守 เครื่องรางพกปัดเป่าซวย

厄除御守 omamori

แบบมีโมโม่

images

ดารุมะไล่ปีศาจ ตุ๊กตาพาซวยไปทิ้ง

maruyoshi kameoka20016

厄除けとうがらし พวงพริกที่ห้อยตามประตู เอาเคล็ดว่าให้ความซวยมันค่อยหลุดร่วงไปเหมือนพริกแต่ละเม็ด

厄除けとうがらし01 tougarashi

เมื่อกลายร่างเป็นเครื่องราง ของชำร่วยก็น่ารักมากมาย

枝付きとうがらし edatsuki togarashi 厄除けとうがらし21IMG_2684

อื่นๆ

Onikko san 風水鬼っ子お守り(厄除)

風水鬼っ子お守り(厄除) 鬼くんの厄除

魔除面 Mayokemen สีแดงกับน้ำเงินเป็นตัวล้างซวย

mayokemen_l

YakuOni 厄除け鬼

yakuoni  yakuyokeoni_takashimaya02

200809171658000 yakuyoke-mini

幸成堂厄除まんじゅう manju

_S_1_~1

鬼 manjuu

และที่ถูกที่สุด 五円玉 ห้าเยนครอบจักรวาล 555 5円=御縁

 goen2 goen

五円 ๅmusubi

ป.ล .ศัพท์แสงเครื่องรางอย่างอื่นที่คุ้นตา

破魔矢 ( はまや) ศรเทพปลุกเสกไล่เคราะห์ร้ายออก สมัยก่อนมีปืน ธนูนี่เป็นที่สุดแห่งอาวุธแล้ว เพราะฉะนั้นจะมีอะไรกำจัดปีศาจแห่งความซวยได้ตั้งแต่ระยะไกล Hamaya บูชามาแล้วต้องเก็บที่สูง (นิยมเหน็บฝาบ้าน เดิมวางบนคานตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังตะวันตกเฉียงใต้เพื่อต่ออต้านสิ่งชั่วร้ายที่จะมาสิ่งสู่ในเครื่องก่อสร้าง )

破魔矢

しめ飾り    Shimekazari ขดเชือกฟางมงคล ประมาณสายสิญจ์ แปะไว้ที่ประตูสิ่งชั่วร้ายจะไม่เข้าบ้าน มักขายช่วงปีใหม่ หมดปีก็เอาของเก่าไปเผาที่วัดซื้ออันใหม่

Shimekazari しめ飾りsimekazari2006_12_15-3                            

門松 Kadomatsu ประดับช่วงอาทิตย์แรกของปีใหม่และจะเก็บไปเผา ๑๗ มกรา สัญลักษณ์ของความมีอายุยืน

 kadomatsu01  門松

Shimenawa เชือกมงคล ประมาณสายสิญจ์ ใช้ล้อมต้นไม้ รัดโยงเชื่อมหิน พาดตรงโทริ ห้อยเหนือประตู

iwaki Shimekazari 4

shimenawa_by_raadust-d30salh meoto iwa

ส่วนกระดาษขาวเป็นรูปสายฟ้าเรียกว่า Shime 注連 หรือ gohei เป็นตัวแทนของศรัทธาที่บริสุทธิ์ต่อศาสนาชินโต

H&K (B) 048 vcm_s_kf_representative_360x480 shimefold

Engi Kumade คราดมงคลกวาดทรัพย์

 kumade Engi Kumade Kunisada_kumade_dtl_2

อ่านความหมายได้ที่ item ปีใหม่

แซ่คนไทยในภาษาจีนกลาง

เวลาเพื่อนๆชาวเอเชีย เห็นหน้าตากะเหรี่ยงของป้าก็มักจะถามว่าพูดจีนได้มั้ย ชื่อแซ่อะไร เสียใจจริงๆที่ที่บ้านไม่ค่อยจีน ป้าเลยพูดไม่ได้แม้แต่คำเดียว แต่ความที่คนจีนในไทยมีเยอะมาก อาม่าป้าก็เป็นสาวจีน ทำให้คนไทยส่วนใหญ่จึงเติบโตคุ้นเคยกับวัฒนธรรมจีน หนังจีนชุด ตลอดจนหลายๆอย่างรอบตัวที่ใช้ชื่อภาษาจีนทับศัพท์ แต่เวลาคุยกับเพื่อนๆชาวจีน ป้าได้อธิบายกันจนเมื่อยมือเสมอ เหตุเพราะจากภาษาจีนในไทยที่เราคุ้นเคยมักเป็นสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ไม่ใช่จีนกลางหรือกวางตุ้งที่อีเพื่อนฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลย์ ไต้หวันหรือจีนแผ่นดินใหญ่จะเข้าใจ ทำให้ชื่อแซ่หรือสิ่งของต่างๆที่เราคุ้นมันไม่ค้นสำหรับเจ้าของภาษาทั้งหลาย จนต้องมาช่วยป้าแกะว่ากวนอู เตียวหุย เห้งเจีย หรือ หลิวเต๋อหัวเนี่ยเธอเรียกว่าอะไร ไล่ไปถึงชื่อแซ่ สกุลของป้านี่ภาษาจีนกลางเขาอ่านว่าไง


ก กก กกก กกกก


ขงเบ้ง (孔明: Kǒngmíng) โจโฉ (曹操; Cáo Cāo) จิวยี่ (周瑜; Zhōu Yú) จูล่ง (子龙; Zǐlóng)





เห้งเจีย/ซุนหงอคง( 行者, Xíng Zhě )/孙悟空,Sūn Wùkōng), ซัวเจ๋ง (沙僧; Sha Wujing); ตือโป๊ยก่าย ( 猪八戒; Zhū Bājiè)

ก๊วยเจ๋ง ( 郭靖,Guo Jìng) อึ้งย้ง (黃蓉,Huáng Róng) อืม รูปที่ใช้ชักเป็นกระทู้ระบุวัย ไม่ post ดีกว่า อิอิ


วันนี้ว่างๆเลยไป copy & paste เรื่องชื่อแซ่จีนในสำเนียงจีนกลางจากคุณหมิงเย่มาเก็บไว้ในไดอารี่เสียก่อน วันหน้ามีคนถามจะได้ตอบชื่อแซ่ตัวเองได้โดยไว อิอิ



ประวัติการอพยพออกนอกประเทศของชาวจีน ....คนจีนกวางตุ้ง จะคุ้นเคยกับพวกฝรั่งตะวันตกมาแต่ไหนแต่ไร เนื่องจากกวางตุ้งเป็นเมืองเปิดทางการค้า ฝรั่งเรียก Canton ....เพราะฉะนั้น เวลาอพยพ คนกวางตุ้ง เลยเลือกเดินทางข้ามทะเลไปอเมริกาหรือยุโรป....ดังนั้น China town ในอเมริกาหรือยุโรปจึงใช้ภาษากวางตุ้ง ......ส่วนจีนฝูเจี้ยน( ฮกเกี้ยน ) ก็อพยพไปไต้หวัน หรือไม่ก็ลงใต้มาฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พวกที่อยู่มาเลย์ ภายหลังอพยพมาอยู่ภาคใต้ของไทย...( ทำให้ภูเก็ตมีบะหมี่ฮกเกี้ยน ร้านอร่อย) ...ส่วนจีนในไทยเป็นกลุ่มที่มาจากซันโถว( ซัวเถา ) และบริเวณรอบๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ มีคนจีนแต้จิ๋วอยู่ในเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่โชคดีที่จีนแต้จิ๋วค้าขายเก่ง เพราะถิ่นอาศัยเดิมที่จีนอยู่ปากแม่น้ำ ต่างจากจีนแคะ ที่ถิ่นอาศัยเดิม อยู่ต้นน้ำ จึงไม่ถนัดค้าขาย แต่จีนแคะจะชำนาญเรื่องเครื่องหนัง โดยเฉพาะการทำรองเท้า
ทั้งภาษากวางตุ้งและภาษาแต้จิ๋ว จัดเป็นภาษาจีนท้องถิ่น ( Dialect )…… ภาษากวางตุ้ง ( Cantonese ) คือภาษาจีนที่คนจีนที่อาศัยอยู่ที่เมืองกวางเจาและเมืองที่อยู่บริเวณรอบๆกวางเจา ( รวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊า ) ใช้พูดกัน ……ส่วนภาษาแต้จิ๋ว ( Chaozhouhua ) เป็นภาษาของคนจีนที่อาศัยอยู่แถวๆเมืองฉาวโจว (เตวี่ยจิว ) และเมืองซานโถว ( ซัวเถา ) พูดกัน …เมืองทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่ในมณฑลกวางตุ้งทั้งสิ้น……..ทุกคนถือว่าเป็นคนกวางตุ้ง แต่บางคนพูดภาษากวางตุ้ง บางคนพูดภาษาแต้จิ๋ว ขึ้นกับว่าเขามีพื้นเพอยู่แถบใด …เมืองที่พูดภาษาแต้จิ๋วจะอยู่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งใกล้ๆกับมณฑลฝูเจี้ยน สำหรับคนมณฑลฝูเจี้ยน ก็จะพูดภาษาฮกเกี้ยน แตกต่างไปอีกค่ะ
10 แซ่จีนที่คุ้นหูสิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในไทยได้แก่
1. 张 ( Zhang1 ) จาง แซ่จาง ( เตีย )
2. 王 ( Wang2 ) หวัง แซ่หวัง ( เฮ้ง )
3. 陈 ( Chen2 ) เฉิน แซ่เฉิน ( ตั๊ง, ตั้ง )
4. 蔡 ( Cai4 ) ไช่ แซ่ไช่ ( ฉั่ว )
5. 秦 ( Qin2 ) ฉิน แซ่ฉิน ( ชิ้ง )
6. 吴 ( Wu2 ) อู๋ แซ่อู๋ ( โง้ว )
7. 赵 ( Zhao4 ) เจ้า แซ่เจ้า ( เตี๋ย )
8. 郑 ( Zheng4 ) เจิ้ง แซ่เจิ้ง ( แต่, แต้ )
9. 许 ( Xu3 ) สี่ว แซ่สี่ว ( โค่ว, โค้ว )
10. 谢 ( Xie4 ) เซี่ย แซ่เซี่ย ( เจี่ย )
1.ตั้ง (เฉิน) 84,829 คน
2.ลิ้ม (หลิน) 74,719 คน
3.ลี้ (หลี่) 49,291 คน
4.อึ้ง (หวง) 44,485 คน
5.โง้ว (หวู) 33,533 คน
6.โค้ว (สวี่) 31656 คน
7.เตียว (จาง) 31,246 คน
8.แต้ (เจิ้ง) 25,922 คน
9.เล้า (หลิว) 25,346 คน
10.เฮ้ง (หวาง) 17,821 คน

Coco Lee ( Li Wen -李 玟) , Jet Li ( Li Lianjie-李连杰) , Bruce Lee นี่ก็ใช่ แซ่หลี่ ในภาษาจีนกลางคือ " หลี่ -李 " และเป็นแซ่เดียวกันกับ " แซ่ลี้ " ในบ้านเรา....นอกจากนี้ก็ยังเป็นแซ่เดียวกันกับแซ่ " Yi" ของคนเกาหลี และ แซ่ " Ly " ของคนเวียดนามค่ะ

ส่วนแซ่ " คู " (ชิวในภาษาจีนกลาง Qiu2, Khu, Kau ) เป็นแซ่อันดับที่ 151 มีต้นกำเนิดมาจากเมืองโจวโข่ว 周口 มณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดแซ่ตั้ง แซ่โอ๊ว แซ่เห่ และแซ่เล้ง เมืองนี้มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์เหยียนตี้ ปฐมกษัตริย์ตามตำนานจีนโบราณ ซึ่งมีการขุดค้นพบสุสานจักรพรรดิ์ไท่โฮ่วหลิงอายุกว่าสามพันปีทางเหนือของอำเภอฮว่ายหยาง ทำให้อนุมูลได้ว่าตระกูลดังกล่าวข้างต้นเป็นตระกูลเก่าแก่แต่โบราณ

แซ่ชิวมี 2 สาย เขียน และ แต่เดิมคือ 丘 ตัวเดียวกัน ต่อมาเพื่อไม่ให้คนรุ่นหลังสับสนเข้าใจว่าเป็นแซ่ที่สืบสกุลมาจากขงจื๊อ (ขงจื๊อ 孔子แซ่ข่ง 孔 ชื่อชิว丘) จึงใช้ตัวเขียนเป็น   แปลว่า หลุมศพ,ซากปรักหักพัง,ใหญ่โต,ว่างเปล่า ปัจจุบันแซ่ชิวมีที่มา ๔ สายหลักๆ คือ

ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง๑. มาจากแซ่เจียงซึ่งเป็นทายาทโดยตรงของเจียงไท่กง 姜太公, Tai Gong Wang) หรือเจียงจื่อหยา (姜子牙: Jiāng Zǐyá ) นักปกครองนักกลยุทธการทหารที่ยิ่งใหญ่ ๑ ใน ๒ ของจีน นักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวังที่ได้โค่นราชวงศ์ซางลง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น ในครั้งนั้นเจียงไท่กง ได้รับแคว้นฉี (Qí)ไปปกครอง ต่อมา โจวเฉิงอ๋องได้ยกเมืองอิ๋งชิงแก่หลื่อซางซึ่งได้ใช้คำว่าชิวเป็นชื่อเมืองและชื่อต้นตระกูลโดย ชิวมู่ เป็นต้นตระกูลในแคว้นชิว และใช้แช่ ชิว มาแต่บัดนั้น บุคคลแซ่ชิวที่มีชื่อเสียงในอดีต
ชิวชู่จี ปฐมาจารย์แห่งลัทธิเต๋าสำนักประตูมังกรในสมัยราชวงศ์หมิง
ชิวจุ้น เสนาบดีฝ่ายพิธีการและราชบัณฑิตในราชวงศ์หมิง

๒. มาจากแซ่ ซื่อ
๓. มาจากแซ่กุย
๔.มาจากชนกลุ่มน้อยที่หันมาใช้แซ่ชิว

ชาวแซ่ชิวส่วนใหญ่กระจายตัวในมณฑลเสฉวน (ราว ๕๐%) หูหนาน หูเป่ย กวางตุ้ง

นอกจากคนทั่วไปแล้ว รู้หรือเปล่าว่าสมเด็จพระเจ้าตากก็ทรงมีชื่อจีนด้วย คนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนามข้อมูลแก่ “หมอสมิธ” ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตีย ซิน ตัด หรือ เตีย ซิน ตวด ซึ่ง “เตีย” คือ แซ่แต้ “ซิน” คือ สิน “ตัด” คือเมืองตาก และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกว๋ออิง แปลว่า เจิ้งวีรบุรุษของประเทศตามหลักฐานจีน พระราชบิดาชื่อ เจิ้ง หยง สำเนียง แต้จิ๋วว่า “แต้” หรือชื่อ แต้หยง หรือนายหยง แซ่แต้ จากอำเภอไฮ้ฮง หรือจีนกลางว่า ไห่เฟิง เป็นอำเภอที่อยู่ล่างสุดและเล็กที่สุดของซัวเถาอาชีพหลักคือค้าขาย อพยพมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา......เจิ้งหยงแต่งงานกับหญิงไทย ชื่อนกเอี้ยง (ระบุนามในหนังสือเดิมที่เขียนในเมืองจีนว่า ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง) ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียน ทรงรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน

ในการเจริญสัมพันธไมตรีและค้าขายกับจีน.....พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีต่อมาอีก 5 รัชกาล ก็ทรงใช้ “ แซ่แต้ 郑 เป็นพระนามต่อเนื่องจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังปรากฏในราชสาส์นที่มีไปยังประเทศจีนและตราพระราชลัญจกรภาษาจีน....ดังนี้

พระเจ้ากรุงธนบุรี ………… ทรงใช้พระนามว่า แต้เจียว 郑昭
รัชกาลที่ 1………………… ทรงใช้พระนามว่า แต้ฮั้ว 郑华(鄭華) จีนกลางออกเสียงว่า “เจิ้งหัว” 
รัชกาลที่ 2………………… ทรงใช้พระนามว่า แต้หก 郑佛
รัชกาลที่ 3………………… ทรงใช้พระนามว่า แต้ฮุด 郑福
รัชกาลที่ 4 …………………ทรงใช้พระนามว่า แต้เม้ง 郑明

รัชกาลที่ 5………………… ทรงใช้พระนามว่า แต้เจี่ย

พระราขลัญจกรแบบจีน ที่ใช้ประทับในพระราชสาส์น ไปจีนในสมัย ร.1- 4 มีตราอูฐทอง 1 อูฐหยก 1 มังกรหก 1 ช้างหมอบ 1 หาข้อมูลได้จากหนังสือชื่อ พระราชลัญจกร ปกสีน้ำเงิน มีรูปพระราขลัญจกรประจำแผ่นดินทองคำ อยู่กลางปก หรือดูตัวอย่างได้ในงานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของ ศ.พระยาอนุมานราชธน หมวดเบ็ดเตล็ด-ความรู้ทั่วไปเล่มที่ 4 ชุดความรู้เรื่องต่างๆ (ซึ่งมีย่อยอีก 4 ตอน)เป็นจดหมายโต้ตอบกันระหว่างสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์กับพระยาอนุมานราชธน ประมาณตอน 2-3 จะมีการกล่าวถึงพระราชลัญจกรอันที่ใช้ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนทุกแบบทุกรัชกาล (มีตัวอย่างตราเป็นภาพขาวดำ)




ดูตราประทับของพระนางซูสีไทเฮา


ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ…..สายสัมพันธ์ของคนจีนกับราชสำนักไทย…( มีเจ้าจอมมารดาหลายท่านและในหลายรัชกาลที่เป็นลูกสาวคนจีน) ….แสดงให้เห็นว่าคนไทยยอมรับในความแตกต่างทางเชื้อชาติ มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงสนับสนุน การแต่งงานระหว่างคนจีนและคนไทย เพื่อให้เกิดความกลมกลืนทางเชื้อชาติ และความสามัคคีปรองดอง


สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี.jpg
เจ้าฟ้าบุญรอด


เริ่มจากเจ้าฟ้าบุญรอดหรือกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระราชินีในรัชกาลที่2 และเป็นพระราชชนนีในรัชกาลที่4 ….พระองค์เป็นพระธิดาของกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ( พระพี่นางเธอในรัชกาลที่1 )… ส่วนพระชนกคือเจ้าขรัวเงิน…..เจ้าขรัวเงินเป็นบุตรเศรษฐีจีนแซ่ตัน ( จีนฮกเกี้ยน )
นอกจากนี้ รัชกาลที่2 ยังมีบาทบริจาริกา ( สนม ) ที่เป็นลูกสาวเจ๊สัวจีนอีก 4 ท่านคือ
1.เจ้าจอมมารดาปราง ธิดาของเจ๊สัวบุญเกิดจากสกุลโหงว ( จีนแต้จิ๋ว )
2.เจ้าจอมมารดาอำภา ธิดาของเจ๊สัวอินจากสกุลหลิม ( นิยะวานนท์ ) – (จีนฮกเกี้ยน )
3. เจ้าจอมยี่สุ่น ธิดาของเจ๊สัวเริกจากสกุลหลิม ( ไกรฤกษ์) -(จีนฮกเกี้ยน )
4. เจ้าจอมพลับ ธิดาเจ๊สัวเต็กจากสกุลตั้ง ( สมบัติศิริ )- ( จีนแต้จิ๋ว )
ว่ากันว่าท่านใดท่านหนึ่ง คงเป็นที่มาของคำกาพย์ในรัชกาลที่ 2 …บทที่ว่า
***** สายหยุดพุดจีบจีน เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์
ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว*******
ในรัชกาลที่5 ทรงมีเจ้าจอมมารดาที่เป็น ลูกคนจีน คือ เจ้าจอมมารดาอ่วม ธิดาของเจ๊สัวยิ้มหรือพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ( จีนฮกเกี้ยน ) ผู้ขุดคลองภาษีเจริญ เจ้าจอมมารดาอ่วมเป็นเจ้าจอมมารดาของกรมพระจันทบุรีนฤนาถแห่งราชสกุลกิติยากร ซึ่งก็คือสมเด็จปู่ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลปัจจุบันนั่นเอง
ที่กล่าวมาเป็นสายสัมพันธ์ของคนจีนและคนในราชสำนักสยาม แต่ครั้งก่อน…….ครั้นล่วงมาปัจจุบัน ในยุคสมัยที่เงินตราและศักดินามีความสำคัญไม่แพ้กัน …..เราจึงยังเห็นความสัมพันธ์ของ“ จีน” และ “เจ้า ”อยู่เช่นเดิม หากแต่สถานการณ์เปลี่ยนไปตรงข้าม…มักจะพบว่า การเกี่ยวดองจะเป็นแบบพี่มีสิน ( หนุ่มจีนทายาทเศรษฐี ) กับเจ้ามีศักดิ์ ( สาวเชื้อพระวงศ์ ) ปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ
เชื่อหรือยังคะว่าแต่ไหนแต่ไรมา จีนกับเจ้านั้น…คู่กันค่ะ : )


(” สำเภาสยาม….ตำนานเจ็กบางกอก” ผู้แต่ง พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร)


รู้ไว้ใช่ว่าพอสังเขปละกัน


邱孔蓓1