ก.ม.หลักๆที่ควรรู้
๑) Labour Code of Vietnam 1994 (Amended 2006 )
๒) the Law on Social Insurance, which became effective in 2007
สรุปคร่าวๆ แว่...
ถ้าจ้างงานเกิน ๓ เดือน จะต้องมีสัญญาจ้าง(Labor contract) เป็นลายลักษณ์อักษรตามรายละเอียดที่กฏหมายระบุ เช่นต้องแจ้งเงินเดือน วันหยุด ความเสี่ยงในงาน ชัดเจน สัญญาจ้างจะเป็นแบบ
- งานประจำ (ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา)
- ระยะสั้น (12 - 36 เดือน )หรือ
- เป็นการจ้างชั่วคราว (Seasonal & Temporary labor < 12 เดือน)
ส่วนช่วงทดลองงาน (Probationary work periods) หรือการติดโปร จะมีหรือไม่ก็ได้ หากมีไม่ควรเกิน ๖๐ วันสำหรับพนักงานวุฒิปริญญา ๓๐ วันสำหรับวุฒิปวส. ปวช. และ ๖ วันกรณีไม่ระบุวุฒิ ระหว่างทดลองงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกได้โดยไม่แจ้งล่วงหน้าไม่มีค่าปรับใดๆ แต่ปกติควรตกลงกันทั้งสองฝ่าย ล่วงหน้า 30-60 วัน
เมื่อรับเป็นพนักงานแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บอกเลิกสัญญา (Unilateral Termination ) ต้องแจ้งล่วงหน้า ๔๕ วันสำหรับสัญญาลูกจ้างประจำ, ๓๐วันสำหรับสัญญาระยะสั้นและ, ๓ วันสำหรับสัญญาจ้างชั่วคราว
สัญญาจ้างที่เกินกว่าสามเดือน ทั้งนายจ้างลูกจ้างต้องเข้ากองทุนประกันสังคม ( Social Insurance Fund) โดย
- นายจ้างต้องจ่ายกองทุน 17% ของเงินเดือน (15%เป็นประกันสังคม 2% เป็นประกันสุขภาพ)
- ลูกจ้างต้องจ่ายกองทุน 6% ของเงินเดือน ( 5%เป็นประกันสังคม 1% เป็นประกันสุขภาพ)
- ทุกๆสองปีนายจ้างต้องสมทบประกันสังคม เพิ่มอีก 1% จนครบ 18% ลูกจ้างก็ต้องสมทบเพิ่มอีก 1% จนครบ 8%

วันลาป่วย หากเป็นพนักงานประจำ ลาป่วยได้ ๑๒ เดือน โดยค่าชดเชนระหว่างลาประกันสังคม (Social Insurance Fund.) จะเป็นผู้จ่าย ไม่ใช่นายจ้าง การลาป่วยเป็นทั้งที่เราป่วยกะลาเพื่อเฝ้าไข้ญาติที่อายุต่ำกว่า ๗ ปี
วันลาคลอด ๓-๖ เดือนใ ถ้าคลอดแฝด ลาเพิ่มได้ ๑ เดือนต่อลูกอีก ๑คน ระหว่างคลอดจะได้เงินเดือนเต็มจากบริษัท และได้ 1 เดือน จากประกันสังคม
ห้ามมิให้บริษัทเลิกจ้างพนักงานระหว่างการลา การเข้ารักษาอาการบาดเจ็บ/ป่วย ห้ามมิให้บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างสตรีขณะที่ ๑)บุตรอายุยังไม่ถึง ๒ ขวบ ๒) แต่งงาน ๓) ตั้งครรภ์ ๔) ลาคลอด
การเลิกจ้างโดยสมัครใจ พนักงานประจำ ทั้งสองฝ่ายแจ้งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า ๔๕ วัน ค่าชดเชย (severance entitlement) หากพนักงานทำงานเกิน ๑ ปี อยู่ในโครงการประกันการวางงาน unemployment insurance scheme) นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ๑.๕ เดือนต่อหนึ่งปีที่ทำงาน
การเลิกจ้างจากปรับโครงสร้าง พนักงานที่ทำงานเกิน ๑๒ เดือน มีสิทธิรับค่าชดเชย ๑ เดือนทุกๆหนึ่งปีที่ทำงาน ค่าชดเชยอย่างต่ำ ๒ เดือน
การลาออกโดยพนักงาน พนักงานที่ทำงานเกิน ๑๒ เดือน มีสิทธิรับค่าชดเชยเมื่อลาออกโดยมิได้ทำผิดระเบียบ
ค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดต่างๆออกใหม่ทุกปี อากู๋เอานะจ้ะ
ก็ประมาณนี้
ป.ล. เซ็งเป็ด อีกละ โห โรงงานขอเพิ่มโปรเป็นตั้ง ๖ เดือน น่าสงสัยพฤติกรรมจริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น